ทำความรู้จักกับประเภทของสินเชื่อ

1 (1)

เวลาที่ได้ยินคำว่าสินเชื่อก็คงจะรู้ดีว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งหากจำแนกจริงๆ แล้วสินเชื่อสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทมากๆ ลองมาทำความรู้จักกับสินเชื่อแต่ละประเภทว่าคืออะไร

3 (1)

  1. ประเภทสินเชื่อที่แบ่งตามระยะเวลา
    • สินเชื่อระยะสั้น – คือสินเชื่อที่อายุไม่เกิน 1 ปี อาทิ สินเชื่อจากบัตรเครดิต เป็นต้น
    • สินเชื่อระยะกลาง – เป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาในการผ่อนตั้งแต่ 1-5 ปี เป็นต้นไป อาทิ การผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท การผ่อนรถยนต์ เป็นต้น
    • สินเชื่อระยะยาว – เป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาการผ่อนตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อที่เกิดจากการลงทุนทางธุรกิจหรือสินเชื่อที่เกิดจากการลงทุนทางด้านอุปโภค อาทิ สินเชื่อบ้าน เป็นต้น
  2. ประเภทสินเชื่อตามวัตถุประสงค์
    • สินเชื่อสำหรับการบริโภค – สินเชื่อที่ถูกปล่อยให้บุคคลเพื่อเอามาใช้ในการบริโภค สามารถเกิดได้หลายรูปแบบ เช่น การผ่อนบ้าน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
    • สินเชื่อสำหรับการลงทุน – เป็นสินเชื่อที่ปล่อยออกมาเพื่อสร้างการลงทุนในเชิงธุรกิจเพื่อให้เกิดธุรกิจหรือการผลิต ส่วนใหญ่จอยู่ในรูปแบบสินเชื่อระยะยาว
    • สินเชื่อพาณิชย์หรือสินเชื่อการค้า – ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการขายสินค้าประเภทเกี่ยวกับวัตถุดิบหรืออาจเป็นสินเชื่อที่ซื้อสินค้ามาและเอาไว้ขายต่อ บางที่ก็เรียกการให้เครดิต
  3. ประเภทสินเชื่อแบ่งตามผู้ขอรับสินเชื่อ –
    • สินเชื่อสำหรับบุคคล – ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่บุคคลเอามาไว้สำหรับการอุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต
    • สินเชื่อสำหรับธุรกิจ – คือสินเชื่อที่ถูกปล่อยให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ให้นำไปใช้เป็นทุนในการสร้างปัจจัยการผลิตหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ
    • สินเชื่อสำหรับรัฐบาล – หากกรณีที่รัฐมีรายได้ไม่พอต่อการใช้จ่ายจึงจำเป็นต้องมีการกู้ยืมในรูปแบบของตั๋วคลัง พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
  4. ประเภทสินเชื่อแบ่งตามผู้ให้สินเชื่อ
    • บุคคลที่เป็นคนให้ – การให้กู้ยืมกับคนที่รู้จักกัน ญาติสนิทมิตรสหาย หรืออาจจะเป็นเงินกู้นอกระบบก็ได้
    • สถาบันการเงินเป็นผู้ให้ – เป็นสถาบันการเงินที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเกี่ยวกับเรื่องทางการเงิน โดยอาจจะแบ่งวัตถุประสงค์ในการปล่อยกู้ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของสถาบันการเงินนั้นๆ
    • หน่วยงานอื่นๆ เป็นผู้ให้ – อาทิ มูลนิธิ องค์กรต่างๆ เป็นได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  5. ประเภทสินเชื่อที่ถูกแบ่งตามหลักประกัน
    • สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน – จะเป็นในลักษณะของการไว้เนื้อเชื่อใจกัน เกิดจากการสังเกตความรับผิดชอบในการชำระหนี้ของผู้กู้เอง ถือว่าเป็นสินเชื่อที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงไม่น้อยเลยทีเดียว
    • สินเชื่อแบบมีหลักประกัน – ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำและเรามักเห็นได้ทั่วในในกรณีที่ผู้ปล่อยกู้นั้นขอเรียกเก็บทรัพย์สินบางประเภทไว้เป็นหลักฐาน