ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) คืออะไร และนำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จัดเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกเก็บจากประชาชนที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการต่างๆ  โดยมีการจัดเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากทุกขั้นตอนในการผลิต , จำหน่าย , ให้บริการ  เช่น ยกตัวอย่างว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคือร้อยละ 10 ผู้ประกอบการซื้อวัตถุดิบ – อุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีตอนซื้อ 10 บาท ต่อมาเมื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายจะต้องบวกอีก 15 บาท สรุปแล้วผู้ซื้อ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15 – 10 = 5 บาท เท่านั้น โดยการซื้อและการขายต้องเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน

see the finance

สำหรับประเทศไทย มีการกำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 10% แต่อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีจะลดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ทุกปี โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 1 ใน 9 ที่เก็บได้ จะโยกไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอีก 8 ส่วน ก็จะโอนให้แก่รัฐบาลกลาง

ถ้าหากเกิดการใช้จ่ายในระบบเพิ่มมาก ก็ต้องเสียภาษีตรงนี้มากขึ้นตามไปด้วย โดยตามปกติแล้วมันมักจะอยู่ในการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการ เดินห้างสรรพสินค้า , ซื้อของร้านค้า ตลอดจนราคาค่าอาหารต่างๆ ล้วนมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วยทั้งนั้น

เมื่อรัฐบาลเก็บไปแล้วนำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

ภาษี คือ เงินซึ่งเรียกเก็บจากประชาชนแล้วนำไปพัฒนาประเทศ ภาษีทางอ้อมเราทุกคนต้องเจอกันทุกวัน แค่เข้าไปซื้อสินค้าสักชิ้นในร้านสะดวกซื้อคุณก็ต้องจ่ายภาษีแล้ว มันคือ การเรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเรียกสั้นๆว่า VAT นั่นเอง โดยหลายๆคนคงสงสัยว่า แล้วทำไมต้องเก็บ เมื่อรัฐบาลเก็บไปแล้วนำไปใช้จ่ายอะไรบ้างนะ ? เหตุผลก็คือทางรัฐบาลได้นำภาษีเหล่านี้ ไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายของรัฐบาล , การคมนาคม , ไฟฟ้า , ระบบขนส่ง , สร้างโรงเรียนรัฐ , ปรับปรุงถนนหนทางให้ดีขึ้น ตลอดจนนำไปจ่ายเงินเดือนของข้าราชการ ที่พวกเขาทำงานรับใช้ประชาชน เช่น ตำรวจ , ทหาร , เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข , เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฏร์ เป็นต้น

รายจ่ายของรัฐบาลในแต่ละปี มีจำนวนเงินแตกต่างกัน เพราะเกิดจากการแบ่งแยกจัดสรรในการลงไปช่วยส่วนต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลนั้นๆ ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ ทั้งรายจ่ายประจำวัน , เดือน , ปี รวมทั้งรายจ่ายที่ต้องนำไปลงทุน หรือคืนเงินกู้มาจากต่างประเทศ เป็นต้น

ดังนั้นภาษีที่เราทุกคนเสีย จึงมีความหมายและสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศมาก ทั้งการนำมาทำเป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในประเทศ ตลอดจนนำมาพัฒนาประเทศในเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับนานาชาติ อีกทั้งยังนำมาอำนวยความสะดวกกลับคืนสู่ประชาชนอีกด้วย เช่น เปิดรถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน , โครงการบัตรทอง เป็นต้น